คำถามที่พบบ่อย

บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมคืออะไร ควรมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง?

เป็นบรรจุภัณฑ์ที่คำนึงถึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ทั้งในด้านการผลิตที่ใส่ใจในทุกขบวนการ อาทิ การเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานสะอาด การทำให้ของเสียจากการผลิตน้อยที่สุด และการกำจัดสารพิษอย่างถูกวิธี นอกจากนั้นคือการคำนึงการใช้งานของผู้บริโภคทั้งในด้านการใช้งาน และการปลูกจิตสำนึกที่ดีในด้านสิ่งแวดล้อม และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ไม่สร้างมลภาวะ ให้ขยะที่กำจัดไม่ได้จนส่งผลให้ทำลายสิ่งแวดล้อม

คำถามที่เราควรถาม ถ้าเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม คืออะไร?

  1. วัตถุดิบทำมาจากอะไร (เป็นเยื้อพืช หรือไม้ที่ปลูกทดแทนได้หรือไม่)
  2. มีกระบวนการการผลิตอย่างไร
  3. มีมาตราฐานรับรองอะไรบ้าง
  4. คุณสมบัติในการใช้งานและความปลอดภัยเมื่อสัมผัสอาหาร
  5. เมื่อทิ้งบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช้แล้วมีกระบวนการการจัดการอย่างไร มีผลกระทบอย่างไรต่อสิ่งแวดล้อม

"บรรจุภัณฑ์" ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไรบ้าง?

แบ่งเป็น 3 ข้อใหญ่

  1. เรื่องใกล้ตัวที่สุดคงเป็นเรื่องของความปลอดภัยต่อสุขภาพ เพราะทุกครั้งที่เรารับประทานอาหารแน่นอนว่าอาหารที่เรารับประทานจะต้องสัมผัสกับบรรจุภัณฑ์ด้วย ทั้งนี้ในบรรจุภัณฑ์บ้างชนิดที่มีสารพิษเมื่อสัมผัสกับอาหารร้อนหรือเย็น แล้วก่อให้เกิดสารพิษในอาหารเมื่อเรารับประทานเข้าไปก็เท่ากับเราบริโภคสารพิษไปเข้าไปด้วย
  2. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเราบริโภคอาหารอยู่ทุกวัน ขยะจากบรรจุภัณฑ์ที่ใส่อาหารที่ย่อยสลายไม่ได้เป็นปัญหาหนึ่งในหลายๆที่ และถ้าเราไม่แก้ไขปัญหาเหล่านี้ยังคงสะสมขึ้นเรื่อยๆ เราอาจจะไม่เห็นการสะสมของขยะเหล่านี้ด้วยตาเปล่า แต่ในหลายๆโรงกำจัดขยะกำลังเผิชญปัญหานี้อยู่เพราะขยะเหล่านี้ทำได้เพียงฝังกลบไม่สามารถเผาทำลายได้ เนื่องจากจะกระทบต่อสิ่งแวด้อมโดยตรง
  3. สะดวกเหมาะแก่การใช้งาน เป็นเรื่องที่น่ายินดีเมื่อปัจจุบันนี้มีงานออกแบบที่ดีเยอะแยะมากมายของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจในเรื่องการใช้งานที่เหมาะสม

ทำไมเราจึงควรเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม?

เรามองว่าทุกวันนี้ในเรื่องของสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กำลังเป็นวิกฤติใหญ่ของคนไทย จากข้อมูลปี 53 อัตราการเป็นมะเร็งเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจเป็นปีละ 100,000 คนในปัจจุบัน และจากสถิติการตายล่าสุดของคนไทย2552) มะเร็งมีอัตราการตายแซงหน้าการตายทุกประเภท ขึ้นแท่นอันดับหนึ่ง เพิ่มเป็นจำนวน 56,058 คนต่อปี (เฉลี่ยตายวันละ 153 คน, ชั่วโมงละ 6 คน) ในจำนวนนี้เป็นมะเร็งตับสูงที่สุด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าสาเหตุใหญ่มาจากสารเคมีปนเปื้อนอาหารในด้านสิ่งแวดล้อม หลายพื้นที่มีปัญหาการกำจัดขยะโดยเฉพาะเมืองใหญ่และเมืองท่องเที่ยว โดยปัญหาจากบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายไม่ได้ ก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องการจัดเก็บที่ใช้พื้นที่มาก การขยายพื้นที่ในการฝังกลบและและการกำจัดขยะอย่างถูกต้อง ทั้งนี้การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์อาจไม่ใช่สิ่งที่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงในทันทีแต่ถ้าเรายังคงละเลยปัญหาเหล่านี้ มันก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยอย่างไม่จบสิ้นจนสายเกินแก้

โจทย์ที่ทาง Gracz สร้างขึ้นเพื่อเป็นวัตถุประสงค์หลักสำหรับการวิจัยคืออะไร ?

จากโจทย์ที่มีคือ การสร้างภาชนะที่ปลอดภัยต่อสุภาพและดีต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับสังคม จึงใช้เวลาหาข้อมูลและวิจัยหาข้อมูลเพื่อผลิตภาชนะที่เหมาะสมเป็นเวลา 5 ปี และในที่สุดเราก็สรุปกันที่เยื่อของชานอ้อย ด้วยคุณสมบัติที่ดีของเยื่อชานอ้อยเป็นเส้นใยที่เหมาะสมจึงมีคุณสมบัติในการยึดติดกันเป็นอย่างดีเมื่อขึ้นรูปเป็นภาชนะแล้วสามารถใส่อาหารร้อน เย็น จนกระทั่งน้ำมันได้ สามารถเข้าเตาอบและไมโครเวฟได้เป็นอย่างดีไม่รั่วซึม และสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งเราถือว่าเป็นจุดเด่นที่ภาชนะใช้แล้วทิ้งอื่นๆใช้งานได้ไม่สมบูรณ์เมื่อเปรียบเทียบทางด้านคุณภาพ การใช้งาน ความปลอดภัย หรือ ราคา และอีกสิ่งหนึ่งที่เราเลือกเป็นเยื่อชานอ้อยเพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตน้ำตาลเป็นรายใหญ่ของโลก ดังนั้นจึงมีชานอ้อยที่เหลือจากขั้นตอนการผลิตเป็นจำนวนมาก และทิ้งไปอย่างเปล่าประโยชน์และไม่เป็นการตัดต้นไม้เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบ เราเลือกตั้งโรงงานที่จังหวัดชัยนาทเพื่อให้ใกล้แหล่งวัตถุดิบและกระจายรายได้ให้กับชุมชน และใน 6 ปีที่ผ่านมาเราจำหน่ายไปยังต่างประเทศ และในประเทศโดยเป็นผู้ผลิตรายเดียวในแบรนด์ ไบโอชานอ้อย จนได้รับรางวัลและมาตรฐานรับรองมากมายอย่างในปีที่แล้วเราได้รับรางวัลใบโพธิ์ และเอกสารรับรอง OK Compost และปลายปี 2555 เราได้ rebrand ใหม่เป็น Gracz ที่หมายถึงความดีงามและความสง่างาม เพื่อมอบสิ่งดีงามให้กับมนุษย์และโลกใบนี้ โดยรูปลักษณ์ใหม่ในนามแบรนด์ Gracz สร้างขึ้นเพื่อ ตอบรับตลาดที่จะขยายขึ้นทั้งในประเทศและรวมถึง AEC และต่างประเทศภายใต้ แบรนด์ เกรซ

"Gracz จากเยื่อชานอ้อย" สร้างความต่างอย่างไรบ้าง ?

เราขอเรียก ว่าเราเป็น เกรซ... ภาชีวะจากเยื่อพืชธรรมชาติ ซึ่งคำว่าภาชีวะ นั้นมาจากคำว่า ภาชนะ และคำว่าชีวะ นั่นหมายถึงภาชนะเพื่อชีวิต เพราะเราเชื่อว่าคนเรามีเพียงชีวิตเดียวอยู่บนโลกใบเดียว นั้นคือสิ่งที่เราต้องดูแลให้ดีที่สุด บริษัทเราถือว่า เป็น social Enterprise ที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงผลกำไรสูงสุดแต่เน้นในเรื่องการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย

"Gracz จากเยื่อชานอ้อย" ตอบคำถามของการเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งแวดล้อมได้อย่างไรบ้าง ทั้งด้านการใช้งาน ความปลอดภัย และการย่อยสลาย?

โดยมีคุณสมบัติ

  • สะอาด ปลอดภัย ไร้สารก่อมะเร็ง
  • สามารถใช้ได้กับ เตาอบ และ เตาไมโครเวฟ
  • สามารถใช้ได้กับอาหารทั้งร้อนและเย็น
  • ย่อยสลายโดยการฝังกลบในดิน ภายใน 6 สัปดาห์
  • ไม่ใช้เยื่อจากไม้ยืนต้น (NON WOOD FIBER)
  • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ก้าวต่อไปของการพัฒนาทาง บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) กำลังมองไปที่กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมด้านไหน?

เราเน้นสร้างการรับรู้และขยายตลาดโดยการกระจายสินค้าไปยังช่องทางต่างๆ เพื่อให้ลูกค้ารู้จักและซื้อหาได้ง่ายขึ้น อาทิ ห้างสรรพสินค้าและ 7-Eleven นอกจากนี้เราสร้างโรงงานแห่งที่ 2 ขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตของยอดขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจาก 200 ล้านชิ้น เป็น 650 ล้านชิ้นต่อปี

  • การพัฒนาเยื่อพืชอื่นเพิ่มขึ้น
  • พัฒนารูปแบบการใช้งานให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้า
  • พัฒนาสินค้าในกลุ่ม Non-food เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าอุสาหกรรม

รับประทานอาหารที่บรรจุในกล่องโฟม ทำให้เป็นโรคมะเร็งจริงหรือไม่?

บรรจุภัณฑ์ประเภท“โพลีสไตรีน”หรือ “โฟม” เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้เป็นภาชนะใส่อาหารเย็นและอาหารร้อน ซึ่งอันตรายจากการใช้พลาสติกประเภทนี้ คือ “สารสไตรีน” ซึ่งถูกจัดให้เป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่ม 2B คือ สาร (สารประกอบ) หรือส่วนผสมที่น่าจะเป็นสารก่อมะเร็งในคน เนื่องจากสารสไตรีนเป็นสารละลายในน้ำมัน และแอลกอฮอล์ ได้ดี ดังนั้นหากนำภาชนะที่ทำจากโฟมใส่อาหารที่มีไขมันสูงหรือใส่อาหารร้อน เป็นกรด อาจทำให้ได้รับสารสไตรีนออกมาจากภาชนะ อย่างก๋วยเตี๋ยวน้ำร้อนจัด แถมมีการปรุงรสด้วยน้ำส้มเข้าไปอีกก็อาจไปกระตุ้นให้สารสไตรีนออกมามากขึ้น แม้จะยังไม่มีมีการยืนยันว่ามะเร็งเกิดจากสิ่งนี้ แต่ก็นับว่าเราได้เพิ่มความเสี่ยงให้กับตัวเอง

บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นต์อย่าง Gracz แพงกว่ากล่องโฟมจริงหรือไม่?

สำหรับราคาซื้อขายกล่องโฟม ประมาณกล่องละ 0.50 บาท แต่มีราคาซ่อนเร้นถึงกล่องละ 328 บาท ราคาซ่อนเร้นคืออะไร? คำตอบคือ เป็นราคาที่เกิดจากการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งใช้เงินประมาณเดือนละ 70,000-100,000 บาท ขณะที่ผลิตภัณฑ์ไบโอชานอ้อย ราคาขายประมาณกล่องละ 1.30 บาท แต่ไม่มีราคาซ่อนเร้นใดๆ ทั้งสิ้น เพราะทำจากธรรมชาติ 100 % โดยในปี 2552 คนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 56,058 ราย หรือ 88.34 รายต่อประชากร 1 แสนราย หรือคิดเป็น 156 รายต่อวัน โดยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10.7 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ไทยโพสต์

รู้หรือไม่ว่า จากที่นักวิจัยพบว่า คนไทยทิ้งขยะพลาสติกและโฟม โดยเฉลี่ยคนละ 2.3 ชิ้นต่อวัน ถ้าคนไทยกว่า 60 ล้านคน พร้อมใจกันแยกขยะพลาสติกและโฟมออกมาเป็นสัดส่วน แล้วเอามากองรวมกันใน 1 ปี ก็จะได้ขยะจำพวกถุงพลาสติกและกล่องโฟมรวมกันประมาณ...

2.3 x 60,000,000 x 365 = 50,370,000,000 ถุงหรือกล่อง (อ่านว่า ห้าหมื่นสามร้อยเจ็ดสิบล้าน ถุงหรือกล่อง)