Content_cover_dsc_0450

สถานการณ์ขยะ ปี 2556

2014-05-01 05:46:31 UTC

สถานการณ์ขยะ ปี 2556
อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ สรุปสถานการณ์มลพิษในปี 2556 ที่ผ่านมา ระบุขยะในประเทศไทยรวมสูงถึง 19.9 ล้านตัน เท่ากับตึกใบหยก2 เรียงต่อกัน 103 ตึก ย้ำห่วงของเสียอันตรายจากภาคอุตสาหกรรมที่ทิ้งปะปนกับขยะทั่วไป อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ...

นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ สรุปสถานการณ์มลพิษในปี 2556 ที่ผ่านมา โดยระบุว่า จากการสำรวจข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ 7782 แห่งโดยใช้แบบสำรวจลงพื้นที่พบว่ามีจำนวนขยะมูลฝอย26.77 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มจากปีที่แล้วถึง 2 ล้านตัน โดยขยะดังกล่าวได้เก็บขนและนำไปจำกัดจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 4179 แห่ง โดยถูกกำจัดแบบถูกต้อง 7.2 ล้านตัน กำจัดไม่ถูกต้อง 6.9 ล้านตัน และยังมีขยะตกค้างอีก 7.6 ล้านตัน นอกจากนี้ยังมีขยะที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ 5.1ล้านตัน แต่ในขณะนี้ประเทศไทยมีสถานที่กำจัดขยะทั้งหมด 2490 แห่ง เป็นสถานที่กำจัดขยะแบบถูกต้อง 466 ยังคงมีสถานที่กำจัดแบบไม่ถูกต้อง เช่นการเททิ้งกลางแจ้ง เผาในที่โล่ง อยู่ถึง 2024 แห่ง ทำให้ขยะมูลฝอยสะสมทั้งประเทศมีสูงถึง 19.9 ล้านตัน ซึ่งจะมีความสูงเท่ากับตึกใบหยก2 เรียงต่อกัน 103 ตึก

"นอกจากนี้ของเสียอันตราย เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่น่าเป็นห่วงเพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม จากการประมาณการเกิดขึ้น 2.65 ล้านตัน โดยจำนวน 2.04 ล้านตัน เป็นของเสียจากภาคอุตสาหกรรม เกือบครึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมภาคตะวันออก และจากชุมชน 0.61ล้านตัน โดยร้อยละ 65 เป็นซากของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อีกร้อยละ 35 เป็นประเภท หลอดไฟ แบตเตอรี่ ภาชนะบรรจุสารเคมี โดยจะถูกทิ้งปะปนไปกับขยะทั่วไป ส่วนมูลฝอยติดเชื้อมีประมาณ 50481 ตัน โดยร้อยละ 75 เป็นการจัดการมูลฝอยติดเชื้อจากสถานบริการสาธารณสุข ในปัจจุบันโรงพยาบาลเผากำจัดเองด้วยเตาเผาของโรงพยาบาล 142 แห่ง ประมาณ 2352 ตันต่อปี" อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าว

นายวิเชียร กล่าวถึง สถานะการณ์ของคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศว่า ในปี 2556ที่กรมควบคุมมลพิษต้องเฝ้าระวัง คือ ปัญหาฝุ่นละออง โดยค่าเฉลี่ยเดิมที่เคยมีแนวโน้มลดลงในปี2551-2554 แต่ปี 2556กลับ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกรงเทพและปริมณฑลส่วนใหญ่เกิดจากยานพาหนะการจราจรที่ติดขัด ส่วนปัญหาก๊าชโอโซน โดยค่าเฉลี่ยในปี2556 เพิ่มขึ้นจากปี2555 ซึ่งเป็นผลมาจากค่าเฉลี่ยในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ส่วนใหญ่เกิดจากยานพาหนะภาคอุตสาหกรรมและการปิโตรเลียม ปัญหาสารอินทรีย์ระเหยง่าย สารเบนซีนในหลายพื้นที่ปริมาณลดลงจากปี 2555 ยกเว้น กรุงเทพมหานคร ส่วนสาร VOCs ได้แก่ 1,3บิวทาไดอีนและ 1,2ไดคลอโรอีเทน ยังมีค่าเกินมาตรฐานในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวถึงปัญหามลพิษทางน้ำว่า ขณะที่ คุณภาพน้ำของประเทศไทย มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 26 เกณฑ์พอใช้ร้อยละ 51 อีกร้อยละ 23 อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาและข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี เพราะบริเวณที่เคยมีคุณภาพน้ำดีลดลง บริเวณน้ำเสื่อมโทรมเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบผลการตรวจคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ปี2556 กับการกำหนดประเภทของแหล่งน้ำตามมาตรฐานคุณภาพน้ำ พบว่า แหล่งน้ำที่ได้มาตรฐานตามประเภทที่กำหนดมีเพียง 8 แหล่ง และไม่เป็นไปตามประเภทที่กำหนด 51 แหล่ง ส่วนน้ำทะเลและชายฝั่ง จากระยะทางของชายฝังกว่า 3000กิโลเมตร มีคุณภาพน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ดีี ร้อยละ 16 เกณฑ์พอใช้ร้อยละ 35 ส่วนอีกร้อนละ 36 เสื่อมโทรม และร้อยละ 13 เสื่อมโทรมมาก

จากข้อมูลย้อนหลัง 5ปี สถานะการณ์น้ำทะเลอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วง เพราะบริเวณที่เคยมีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะนี้ไม่มีเลยและบริเวณที่มีคุณภาพน้ำในเกณฑ์ดีก็เหลือน้อยลงอย่างมาก แสดงให้เห็นว่าคุณภาพน้ำทะเลได้รับอิทธิพลโดยตรงจากการระบายน้ำเสียและของเสียจากชุมชน เกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และอุตสาหกรรม

นายวิเชียร กล่าวต่ออีกว่า การดำเนินงานแก้ใขปัญหาลมพิษอีกส่วนหนึ่งคือ เขตควบคุมมลพิษ ที่ผ่านมานับจากปี 2535 มีประกาศเขตควบคุมมลพิษ ตามมาตรา 59 ไปแล้ว 23 พื้นที่ ใน 13 จังหวัด โดยกรมควบคุมมลพิษได้เข้าไปส่งเสริมและรักษาการแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่ต่าง มาอย่างต่อเนื่อง แต่หลายพื้นที่ยังมีปัญหามลพิษอยู่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำเสีย มลพิษทางอากาศ ขยะมูลฝอย ของเสียอันตราย ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า การดำเนินงานเขตควบคุมมลพิษยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ในปี 2556 ต่อเนื่องมา 2557กรมควบคุมมลพิษให้สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค เข้าตรวจสอบในเชิงลึกของแต่ละพื้นที่ เพื่อประเมินผลสำเร็จของการดำเนินงาน

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ พื้นที่ที่กรมควบคุมมลพิษเข้าปทำงานเต็มตัว คือ หน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี และมาบตาพุด จังหวัดระยอง นอกจากนี้กรมควบคุมมลพิษือเป็นนโยบายที่จะทำให้ขยะทุประเภท ทุกกิโลกรัม หรือทุกตันที่เกิดขึ้นได้รับการจัดการ ไม่เกิดภาพลักกลอบทิ้งหรือขยะเกลี่ยนเมือง ขณะนี้ได้มีการวางระบบการบริหารจัดการ ขยะมูลฝอยของเสียอันตราย และมูลฝอยติดเชื้อไว้แล้ว และได้ผลักดันไปสู่การปฏิบัติโดยใช้กลไก โครงการเมืองสวยใสไร้มลพิษ โดยให้สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคสนับสนุนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จัดการขยะทุกประเภทในพื้นที่ของตนเองอย่างเหมาะสม

นายวิเชียร กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ มีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมแล้ว 1096 แห่งใน 76 จังหวัด นอกจากนี้กรมควบคุมมลพิษ ต้องการผลักดันให้การจัดการขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติ ด้วยกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์ หลักคือการเสริมส้างสังคมรีไซเคิล การแปรรูปขยะมูลฝอยเป็นพลังงาน การรวมกลุ่มขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดระบบการเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และการให้เอกชนมีส่วนร่วมดำเนินการในรูปแบบ Public Private Partnerships หรือ PPPs.